การ์ทเนอร์คาดการณ์ ‘เทรนด์ไอที’ กระทบองค์กรไอที – ผู้ใช้ใน ปี 2565 และอนาคต

การ์ทเนอร์คาดการณ์ ‘เทรนด์ไอที’ กระทบองค์กรไอที – ผู้ใช้ใน ปี 2565 และอนาคต

การ์ทเนอร์ เปิดเผยผลการคาดการณ์ เทรนด์ไอที ที่จะส่งผลต่อบรรดาบริษัท, องค์กรด้านเทคโนโลยี และผู้ใช้งานใน ปี 2565 และหลังจากนี้ไปอีก 5 ปี (2570) (เทรนด์ไอที ปี 2565) กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 12 มกราคม 2565 – การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรไอทีรวมถึงผู้ใช้ในปีนี้และอนาคต จากการสำรวจปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ที่เกิดจากบทเรียนของธุรกิจต่าง ๆ ที่ผู้บริหารทั้งด้านธุรกิจและด้านไอทีได้เรียนรู้จากการหยุดชะงักและความไม่แน่นอนที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง เพื่อไปสู่การให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นหลัก สร้างความยืดหยุ่นในการแข่งขัน และความสามารถในการบรรลุเป้าหมายที่เหนือกว่า

แดริล พลัมเมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ 

กล่าวว่า “บทเรียนที่ได้รับจากการระบาดคราวนี้คือความคาดการณ์สิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน และเตรียมพร้อมเดินหน้าด้วยการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายไปพร้อม ๆ กัน ผู้นำที่มอบทางเลือกให้กับทีมงานเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที มีความยืดหยุ่นสูงจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ” 

“ความยืดหยุ่น โอกาสและความเสี่ยง ล้วนเป็นองค์ประกอบของการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดี เพียงแต่เวลานี้ปัญหาเหล่านี้ต้องมีการตีความใหม่ ดังนั้นการคาดการณ์ในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการสร้างความยืดหยุ่นด้วยวิธีที่ไม่ใช่รูปแบบเดิม ๆ ตั้งแต่ทักษะการทำงานไปจนถึงโมดูลทางธุรกิจ ขณะที่ต้องมองโอกาสและความเสี่ยงที่ต้องมีการตระหนักถึงความเร่งด่วนมากกว่าที่เคยเป็น”

ภายในปี พ.ศ. 2567 ผู้บริโภคราว 40% จะมีพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาที่ถูกติดตามหรือรวบรวมไว้ลดบทบาทลง ซึ่งทำให้ธุรกิจสร้างรายได้จากข้อมูลเหล่านั้นได้ยากขึ้น

ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้นว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทต่าง ๆ ได้จากพวกเขามีมูลค่ามหาศาล รวมถึงพลังของข้อมูลเมื่อใช้อัลกอริธึมการแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรม โดยที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งกำลังหาวิธีป้องกันการติดตามข้อมูลและพฤติกรรมส่วนตัวเพื่อเป็นการตอบโต้ อาทิ การให้ข้อมูลที่ไม่จริงหรือคลิกโฆษณาที่ไม่ได้สนใจจริง ๆ และยังมีอีกหลายวิธีด้วยกัน

“การล่อหลอกอัลกอริธึมเพื่อเลี่ยงการติดตามพฤติกรรมและการสร้างความสับสนบนฐานข้อมูล ผู้บริโภคกำลังท้าทายคำกล่าวที่ว่า ‘หากคุณไม่ใช่ลูกค้า คุณคือผลิตภัณฑ์’ ไม่ว่าผู้บริโภคจะถูกกระตุ้นจากความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัย หรือการให้ข้อมูลผิด ๆ หรือต้องการได้เงินผลตอบแทน ผู้บริโภคต่างหมายมั่นปั้นมือลดคุณค่าของข้อมูลเชิงพฤติกรรมของพวกเขาที่บริษัทต่าง ๆ ต้องพึ่งพา” พลัมเมอร์กล่าวเพิ่มเติม

ภายในปี พ.ศ. 2567 ทีมในองค์กรถึง 30% จะทำงานกันได้โดยไม่ต้องมีหัวหน้างาน 

อันเป็นผลจากการเรียนรู้และกำกับการทำงานด้วยตัวเอง รวมถึงความคุ้นเคยกับธรรมชาติของการทำงานแบบไฮบริด  การระบาดใหญ่ทำให้รูปแบบการทำงานที่มีความคล่องตัวได้ฝังตัวไปในการดำเนินธุรกิจและยังปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจไปสู่คุณค่าที่แท้จริง รวมถึงเปลี่ยนบทบาทการตัดสินใจจากศูนย์กลางมาเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ ช่วยลดปัญหาคอขวดและประหยัดเวลาท่ามกลางสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด ขณะที่การทำงานแบบสลับเข้าออฟฟิศและทำงานจากที่บ้านยังดำเนินต่อไป นั่นส่งผลให้บทบาทของผู้จัดการในแบบเดิม ๆ ถูกถอดออกไปซึ่งสามารถเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในทางปฏิบัติงานได้ยิ่งขึ้น

“บทบาทผู้จัดการในฐานะผู้บังคับบัญชาและผู้ควบคุมงานเป็นอุปสรรคสำคัญในยุคที่ธุรกิจเน้นความคล่องตัวที่ต้องการความเป็นอิสระและการทำงานเป็นทีม เช่น ร่วมวางแผน จัดลำดับความสำคัญของงาน และการทำงานอย่างมีระบบยังต้องมีอยู่ แต่จำเป็นต้องแยก ‘การจัดการ’ ออกจากบทบาท ‘ผู้จัดการ’ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความคล่องตัวและการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” พลัมเมอร์กล่าว

ภายในปี พ.ศ. 2568 ข้อมูลสังเคราะห์ (หรือ Synthetic Data) จะลดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรจากการละเมิดความเป็นส่วนตัว (70%) 

ข้อมูลที่สร้างโดยใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือที่เรียกว่าข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data) กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลสังเคราะห์สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้อมูลจริง ทำให้ลดการรวบรวม ใช้ หรือแบ่งปันข้อมูลที่มีความอ่อนไหวลง สิ่งนี้มีความสำคัญสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวที่มีความสมบูรณ์และมีความเฉพาะในระดับภูมิภาคได้กดดันให้องค์กรหันมาลดความเสี่ยงของการละเมิดความเป็นส่วนตัวและรับรองความยืดหยุ่น

“ข้อมูลสังเคราะห์ทำให้ AI เป็นคำทำนายที่แท้จริงที่มันสามารถแสดงถึงตัวเลือกความเป็นจริงอื่น ๆ ในอนาคต ไม่ใช่ในการสะท้อนภาพของอดีตจากข้อมูลจริง โดยการใช้ข้อมูลสังเคราะห์ที่มีคุณภาพสูงและในปริมาณมาก ๆ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ในวงกว้าง” พลัมเมอร์กล่าว

ภายในปี พ.ศ. 2567 การโจมตีทางไซเบอร์จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อโครงสร้างพื้นฐานที่กลุ่ม G20 จะโต้ตอบด้วยการโจมตีทางกายภาพ

ในอดีตประเทศต่าง ๆ มองว่าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นเป็นอาชญากรรม ไม่ใช่การทำสงคราม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความสูญเสียที่เกิดจากการโจมตีขนาดใหญ่เมื่อเร็ว ๆ นี้ พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นรัฐบาลบางประเทศกำลังเตรียมการรับมือสงครามไซเบอร์ผ่านหน่วยป้องกันทางไซเบอร์เฉพาะกิจ

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป